วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ทำไม่จึงต้องออกกำลังกาย

การป้องกันเสริมสร้างสุขภาพ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพ เพราะได้ผล และประหยัดที่สุด สุขภาพที่ดี คือ ดีทั้งทางกาย และใจ

ขณะนี้สาเหตุการตายของประชาชนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อ เป็นโรคที่ไม่ติดเชื้อ และจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ยาเสพย์ติด เพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ คนเราทุกคนจะต้องแก่ เจ็บ และตายทุกคน แต่ในปัจจุบันนี้เราสามารถป้องกันโรคได้หลายโรค ฉะนั้น จึงควรแก่อย่างมีคุณภาพ และไม่ควรเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้

โรค และสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต

1. ปัจจุบันนี้ โรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด 3 อันดับแรกต่อประชากร 100,000 คน คือ
- โรคหัวใจ และหลอดเลือด
- อุบัติเหตุ และสารเป็นพิษ
- โรคมะเร็ง

2. โรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ คือ โรคอัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคสมองเสื่อม การหกล้ม และกระดูกหัก ฯลฯ

3. ในสุขภาพสตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังหมดประจำเดือน ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) และกระดูกหัก

4. ประชาชนประมาณ 40% จะมีอาการปวดหลัง

5. การที่ประชาชนมีสุขภาพดีทั่วหน้า ประเทศชาติสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางด้านอื่น โรคหรือสาเหตุของการตายต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถป้องกัน หรือลดลงได้ไม่มากก็น้อย ด้วยการออกกำลังกาย คุมอาหาร และพฤติกรรมที่เหมาะสม

การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไร

1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สมรรถภาพการทำงานของหัวใจจะดีขึ้นมาก ถ้าออกกำลังกายอย่างถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ 3 เดือน ชีพจร หรือหัวใจจะเต้นช้าลง ซึ่งจะเป็นการประหยัดการทำงานของหัวใจ
2. ลดไขมันในเลือด ซึ่งถ้าสูงจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
3. เพิ่ม HDL-C ในเลือด ซึ่งถ้ายิ่งสูงจะยิ่งดี จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
4. ลดความอ้วน (ไขมัน) เพิ่มกล้ามเนื้อ (ทำให้น้ำหนักอาจไม่ลด)
5. ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน
6. ช่วยลดความดันโลหิตถ้าสูง ลดได้ประมาณ 10-15 ม.ม. ปรอท
7. ช่วยทำให้หัวใจ ปอด ระบบหมุนเวียนของโลหิต กล้ามเนื้อ เอ็น เอ็นข้อต่อ กระดูก ผิวหนังแข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยลดความเครียด ทำให้นอนหลับดียิ่งขึ้น ความจำดี เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น
8. ป้องกันโรคกระดูกเปราะ โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่ประจำเดือนหมด
9. ช่วยทำให้ร่างกายนำไขมันมาเป็นพลังงานได้ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการประหยัดการใช้แป้ง (glycogen) ซึ่งมีอยู่น้อย และเป็นการป้องกันโรคหัวใจ
10. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด เช่น ลำไส้ใหญ่ เต้านม ต่อมลูกหมาก
11. ทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้า ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรค ลดเวลาที่จะหยุดงานจากการเจ็บป่วย ทำให้ประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติมั่นคง
12. ถ้าประชาชนทั่วประเทศออกกำลังกายจะเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านกีฬา

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) จัดว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงมาก ต้องใช้ออกซิเจน ต้องใช้กล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ (เช่น ขา หรือแขน) อย่างต่อเนื่อง นานพอ หนักพอ บ่อยครั้งพอ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะทำให้หัวใจ ปอดและระบบหมุนเวียนโลหิตแข็งแรง ซึ่งก็คือวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก ฯลฯ

การออกกำลังกายชนิดนี้ มักใช้ทั้งแป้ง และไขมันเป็นพลังงานควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกตลอดเวลาเพื่อสุขภาพ เมื่ออยู่ตัวแล้วจึงอาจจะเล่นกีฬาอย่างอื่นด้วย เพื่อความบันเทิงหรือสังคม แต่อย่าหยุดการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (ควรทำคนละวันกัน) เช่น ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตีเทนนิส 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตีกอล์ฟ 1 ครั้ง ฯลฯ

ไม่ใช่ว่าการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาอะไรก็ได้จะดีต่อหัวใจ และหลอดเลือดเสมอไป การเล่นเทนนิสทุกวันอย่างเดียวยังอาจเสียชีวิตได้ เพราะเทนนิสไม่ใช่การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพราะจะวิ่ง ๆ หยุด ๆ ไม่ได้วิ่งตลอดเวลา การอยู่ดี ๆ วิ่งเร็วขึ้นมาทันทีอาจทำให้ร่างกายหลังสาร Cathecholamines ออกมาทันที ทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาจมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

ผลดีของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อการทำงานของหัวใจ

ทำให้หัวใจ หลอดเลือด และปอดแข็งแรง ทำให้เส้นเลือดที่ตีบแล้วหายตีบ หรือถ้าไม่หายร่างกายก็จะสร้างเส้นเลือดใหม่ (ทางเบี่ยง) ทำให้ชีพจนเต้นช้าลง ซึ่งจะเป็นการประหยัดการทำงานของหัวใจ ทำให้ร่างกายมีพลังสำรองมากขึ้น เผื่อจำเป็นต้องใช้ในยามฉุกเฉิน เพิ่ม HDL-C ในเลือดป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำให้ร่างกายนำไขมันมาใช้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งนอกจากช่วยลดความอ้วนแล้วยังเป็นประโยชน์สำหรับนักกีฬาอีกด้วย เพราะร่างกายมีแป้งจำกัด ส่วนไขมันมีมาก

ใครบ้างควรออกกำลังกาย

โดยความเป็นจริงแล้ว คนทุกเพศ และทุกวัย ควรที่จะออกกำลังกานให้สม่ำเสมอ ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด แต่ถ้ายิ่งเริ่มต้นเร็วจะยิ่งดี

วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องมี 5 ขั้นตอน

1. ควรจะมีการยืดเส้นยืดสายก่อน
2. ควรจะมีการอุ่นเครื่อง (Warm up) ประมาณ 5 นาที
3. ออกกำลังกายให้ชีพจรเข้าเป้า (Exercise vigorously) ประมาณ 20 นาที
4. ควรมีการคลายความร้อน (Cool down) ประมาณ 5 นาที
5. ควรมีการยืดเส้นอีกครั้งก่อนหยุด

ควรออกกำลังกายนานแค่ไหน

ปกติแล้วควรออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณ 20 นาทีเป็นอย่างน้อย (แต่ถ้าเดินต้องเดินเร็ว ๆ 40 นาที) การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องทำมากกว่านี้

ควรออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน

ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 20 นาที แต่ไม่ควรออกมากกว่า 6 ครั้ง เพื่อให้ 1 วันเป็นวันพัก

ควรออกกำลังกายหนักแค่ไหน

ในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ต่อหัวใจ และปอดจะต้องออกกำลังกายให้หัวใจ (หรือชีพจร) เต้นระหว่าง 60-80% ของความสามารถสูงสุดที่หัวใจของคน ๆ นั้นจะเต้นได้

สูตร ความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้ = 220 - อายุเป็นปี

ตัวอย่าง คนที่มีอายุ 50 ปี มีความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้คือ 220-50 = 170 ครั้งต่อนาที

ดังนั้นสำหรับคนที่มีอายุ 50 ปี ควรออกกำลังเพื่อให้ชีพจรเต้นเพียงระหว่าง 60-80% ของ 170 ครั้งต่อนาที กล่าวคือ ระหว่าง 10-2136 ครั้งต่อนาที

แต่ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ต้องค่อย ๆ ทำ อาจใช้เวลา 2-3 เดือน ก่อนทีจะออกกำลังกายให้ชีพจรเต้นได้ถึง 60% ของความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้ แต่ในทางปฏิบัติการวัดชีจรในขณะที่ออกกำลังกาย ถ้าไม่มีเครื่องมือช่วยวัดจะทำได้โดยยากสำหรับประชาชนทั่วไป ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวัดชีพจร แต่ออกกำลังกายให้รู้สึกว่าเหนื่อยนิดหน่อย พอมีเหงื่อออก หรือยังสามารถพูดคุยระหว่างการออกกำลังกายได้ ถ้าอยากวัดจริง ๆ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่เพราะจักรยานส่วนใหญ่จะมีที่วัดชีพจร

การออกกำลังกายมีโทษหรือไม่

การออกกำลังกายอาจให้โทษได้ ถ้าออกกำลังกายไม่ถูกต้อง โทษของการออกกำลังกายอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

1. ออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับอายุ เช่น ผู้สูงอายุอาจจะใช้วิธีเดินเร็ว ๆ ดีที่สุด แทนที่จะไปเล่นสควอส เทนนิส แบดมินตัน ทั้งนี้เพราะการเล่นเทนนิสเป็นการออกกำลังกายแบบวิ่งบ้างหยุดบ้าง ไม่ต่อเนื่องเพียงพอที่จะมีประโยชน์ต่อปอด และหัวใจแต่ยังดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย เพียงแต่ว่าไม่สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้เท่ากับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ทำต่อเนื่อง

2. ออกกำลังกายผิดเวลา เช่น เวลาร้อนจัดเกินไปอาจไม่สบายได้ เวลารับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ อาจเป็นโรคหัวใจได้ เพราะหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ ร่างกายต้องการเลือดไปทีกระเพาะอาหารและลำไส้มาก แต่ถ้าไปออกกำลังกาย ร่างกายจะต้องการเลือดไปที่กล้ามเนื้อมากด้วย (รวมทั้งที่กระเพาะอาหาร และลำไส้ด้วย) จึงอาจทำให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจมีน้อยไป ทำให้เกิดอาการหรือโรคของหัวใจได้

3. ออกกำลังกายเวลาที่ไม่สบาย เวลาที่ท้องเสียไม่ควรออกกำลังกาย เพราะร่างกายอาจจะขาดน้ำ หรือเกลือแร่ทำให้อ่อนเพลีย เป็นลม เป็นตะคริว หรือโรคหัวใจได้ เวลาเป็นไข้ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ถ้าไม่สบายไม่ว่าด้วยอาการใด ๆ ถึงแม้ไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร ควรยกเว้นการออกกำลังกายไว้ก่อน

4. ออกกำลังกายโดยไม่อุ่นเครื่องหรือยืดเส้นก่อน โดยปกติแล้วไม่ว่าเป็นนักกีฬาระดับไหน หนุ่มสาวหรือผู้สูงอายุ ก่อนออกกำลังกายจะต้องมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติทุกครั้งโดยไม่มีการยกเว้น โดยเฉพาะผู้ที่สูงอายุหรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ซึ่งการอุ่นเครื่อง หรือยืดเส้นก่อน จะช่วยทำให้ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ และช่วยทำให้อาการเมื่อยล้าหายได้เร็วขึ้นหลังจากการได้ออกกำลังกาย ถึงแม้ท่านไม่ออกกำลังกายในวันหนึ่งวันใดท่านก็ควรยืดเส้นทุกวัน

5. ถ้าใช้อุปกรณ์การกีฬาที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้า ไม้เทนนิส ก็อาจเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น

6. ถ้าออกกำลังกายมากไป จะเป็นการเสื่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น ต้องทำพอดี ๆ เช่น ถ้าจะวิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่ง 20 นาทีพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องวิ่งถึง 60 นาทีต่อครั้ง ถ้าอยากที่จะป้องกันการบาดเจ็บ ถ้าเป็นไปได้ ควรเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกไปทุก ๆ วัน เช่น ว่ายน้ำวันหนึ่ง วิ่งวันหนึ่ง ถีบจักรยานอยู่กับที่วันหนึ่ง เดินวันหนึ่ง ฯลฯ ถ้าปวดเข่าควรเปลี่ยนไปเป็นว่ายน้ำแทน หรือถีบจักรยาน

ที่มา : เอกสาร Warner-Lambert (Thailand) Ltd.
 
ทุกท่านคงตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย แล้วว่าจะมีผลดีทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ในที่นี้ จะขออธิบายถึงวิธีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม ให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทำงานมากขึ้น โดยอาศัยวิธีการหรือแบบแผน ของการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาชนิดนั้นๆ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย และ สภาพร่างกาย ของแต่ละคนด้วย

ลักษณะของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับกัน มีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ ลักษณะบังคับ และลักษณะประกอบ

- ลักษณะบังคับ 
ได้แก่ 1 เหมาะสมกับสภาพร่างกาย 2. สามารถควบคุมความหนักเบาได้ด้วยตนเอง 3. มีการฝึกความอดทนของระบบหัวใจ และการไหลเวียนของโลหิต 4. สามารถปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอได้ 5. มีความเสี่ยงอันตรายน้อย

- สำหรับลักษณะประกอบ ได้แก่

ปฏิบัติได้ง่าย ไม่มีกติกา หรือเทคนิคยุ่งยาก
มีความสนุกเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด และ
ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลามากเกินไป

ดังนั้น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรที่คนทั่วไปจะกระทำได้ เพราะจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ากิจกรรมการออกกำลังกายง่ายๆ เช่นการเดิน การวิ่ง การเต้นรำ กระโดดเชือกหรือการก้าวขึ้นลงบนที่วางเท้าเตี้ยๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ทุกคนยากที่จะปฏิเสธว่าทำไม่ได้ สำคัญอยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละบุคคลเท่านั้นว่าเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหรือไม่?
อ้างอิง http://www.bangkokhealth.com/

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

พืช ผัก ผลไม้ทั่วไปหลายชนิดที่คนไทยนำมาใช้เป็นสมุนไพรนั้น โดยอาจจะนำมาประกอบเป็นอาหาร เป็นเครื่องดื่ม เครื่องปรุง อาหารเสริม และใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับร่างกายในชีวิตประจำวัน ส่วนที่นำมาใช้อาจจะเป็นราก ลำต้น ใบ ดอก หรือผลก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นพืชสวนครัวที่หาได้ไม่ยาก นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศได้ศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาเกี่ยวกับพืช ผัก ผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภค เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าในด้านส่งเสริมสุขภาพ การเกิดโทษ การใช้ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ ซึ่งคุณค่าของพืช ผัก ผลไม้ ทุกวันนี้ผู้คนก็ได้ให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น
สมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพทางร่างกาย จึงหมายถึง พืช ผัก ผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสรรพคุณทางยา ทำให้ผู้บริโภคมีร่างกายแข็งแรงและพร้อมที่จะทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตของวิทยาศาสตร์กับสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
ในบรรดาพืช ผัก และผลไม้ต่างๆ ที่คนไทยนิยมนำมาบริโภคนั้น มีผลสรุปจากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาว่า ส่วนใหญ่ร่างกายจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการในขนาดที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ และยังมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาว เพิ่มรสหวาน หรือความเผ็ดร้อนให้แก่อาหาร ทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับลม และทำให้นอนหลับได้ดี
พืช ผัก ผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย เช่น
ข้าว
จะเป็นพวกข้าวกล้อง
พืชที่ใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส และสีของอาหาร 
เช่นพวกหอม กระเทียม ขึ้นฉ่าย ย่านาง ข่า ขิง ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไพล กระชาย ตะไคร้ พริก พริกไทย ผักชี ยี่หร่า แมงลัก โหระพา สะระแหน่ กะเพรา อบเชยเทศ ลูกจันทน์เทศ กานพลู ดีปลี เทียนตากบ ผักชีลาว เป็นต้น
พืชที่ใช้จิ้มกับน้ำพริก
เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักปลังแดง หรือปลังขาว ชะพลู ผักโขม ผักเป็ด ผักปราบ ผักเสี้ยน ผักสันตะวา โสม เพกา ผักแขยง ผักบั้ง ส้มกบ สะเดา บัวบก ผักเบี้ยใหญ่ กระถินบ้าน แคบ้าน แคฝรั่ง สลิดหรือขจร ตำลึง ชะอม ผักติ้วขน ถั่วฝักยาว เป็นต้น
พืชที่ใช้ดอกและผลเป็นอาหาร
เช่น ยอ มะกรูด มะกอก ขี้เหล็ก มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือพวง มะแว้งเครือ มะแว้งต้น มะอึก บวบเหลี่ยม บวบหอม น้ำเต้า แตงไทย แตงกวา มะระขี้นก มะระจีน ฟักเขียว ฟักทอง กระเจี๊ยบ มะละกอ มะม่วง มะพร้าว มะขาม มะขามป้อม มะตูม มะเกลือ มังคุด ขนุน น้อยหน่า ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม มะนาว สับปะรด กล้วย ขนุน สมอไทย มะรุม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแปบ ถั่วพลู เป็นต้น
พืชที่ใช้หัวเป็นอาหาร
เช่น ถั่วพู มันเทศ เผือก เป็นต้น
สมุนไพรกับบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ
ใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส และสีของอาหาร
วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ในอาหารหลายชนิดนิยมใช้เครื่องปรุงแต่งรส เพิ่มความหอม ดับกลิ่นคาว เพิ่มรสเผ็ดร้อน และสีสัน ทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และทำให้เจริญอาหารขึ้นด้วย เมื่อกินข้าวมันไก่ก็มักกินกับหัวหอม ต้นหอม พริก ขิง พริกไทย เมื่อกินข้าวขาหมูก็จะกินกับกระเทียมและพริก เมื่อกินอาหารประเภทยำและทอดก็จะกินกับต้นหอม พริก ขิง เมื่อทำต้มยำก็จะใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกลงไป ในแกงผัดเผ็ดก็มักจะใส่ใบมะกรูด พริก พริกไทย ใบกะเพราลงไปด้วย ในแกงเผ็ดก็ใส่ใบโหระพา ในแกงเลียงจะใส่หัวหอม พริกไทย ใบแมงลัก และในอาหารเกือบทุกมื้อก็มักจะมีผักจิ้มกับน้ำพริก เช่น พวกมะเขือ ผักบุ้ง ถั่วพู ถั่วฝักยาว แค มะระ หัวปลี มะเขือพวง ผักกะเฉด เป็นต้น
สมุนไพรกับบทบาทในวิถีการบริโภคและการเข้าถึงของคนไทย
แม้ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วไปจะมีพืช ผัก ผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีสรรพคุณทางยา แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเข้าถึงเรื่องการปลูกไว้ในครัวเรือน หรือการหามาได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพงเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายหรือไม่
สมุนไพรกับบทบาทความสะดวกสบายของผู้บริโภค
ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้ครอบครัวคนไทยประกอบอาหารกินกันน้อยลง มักจะหาอาหารสำเร็จรูปมากินกันมากกว่า และอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกก็ส่งผลให้เด็ก วัยรุ่น และหนุ่มสาวหันมาบริโภคอาหารพวกแป้ง ขนมปัง ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า กันมากขึ้น ซึ่งสารอาหารส่วนใหญ่จะเป็นพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในปริมาณสูง จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความอ้วน มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเป็นเช่นนี้การส่งเสริมสุขภาพร่างกายด้วยสมุนไพรก็จะมีบทบาทลดน้อยลงไปด้วย
สมุนไพรกับบทบาทของลักษณะที่อยู่อาศัย
ปัจจุบันบ้านเรือนในเขตเมืองของคนไทยมักไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักสวนครัว และคนส่วนใหญ่ก็ไม่มีเวลามาปลูกพืชผักสวนครัว เพราะมีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบและต้องแข่งขันกัน แม้แต่เวลาที่จะไปจับจ่ายหาซื้อพืชผัก ผลไม้เหล่านี้ในตลาดก็แทบจะไม่มี หรือพืชผักเหล่านี้อาจไม่มีวางขายในตลาดก็ได้
สมุนไพรกับบทบาทเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภค
เพื่อให้ได้รับประโยชน์และคุณค่าจากการบริโภคพืชผักผลไม้ ในการส่งเสริมสุขภาพของร่างกาย และเพื่อใช้เป็นยา ผู้บริโภคจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
สมุนไพรกับบทบาทที่ขึ้นอยู่กับความปลอดภัย
มีพืชผักพื้นบ้านอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาและทางพิษวิทยา ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายเพียงใดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรม ค่านิยม แบบแผนการปฏิบัติ และสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้คนรุ่นหลังหันมานิยมบริโภคพืชผักผลไม้พื้นบ้าน และส่งเสริมการปฏิบัติจริงในทางที่เป็นไปได้

อ้างอิง http://www.healthcarethai.com/






























อาหารเพื่อสุขภาพ

หมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้ำหนักจะต้องอยู่ในเกฑ์ปรกติ ไม่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ ลดเกลือ ลดน้ำตาล ลดไขมัน

อาหารสุขภาพ

องค์การอนามัยโรคได้นิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพดังนี้
  • อาหารเพื่อสุขภาพรับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม
สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้ผลไม้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย
NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร
สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน
  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้ 
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ
หลักการง่ายๆที่จะทำให้เราได้รับอาหารเพื่อสุขภาพ

อ้างอิง http://www.siamhealth.net/

ในยุคของการแข่งขัน ที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ชีวิตมีความรีบเร่งมากขึ้น จนไม่ค่อยมีเวลาที่จะให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสมดุลของอาหารที่รับประทานรวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ไขมัน นม เนย เป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนไทยมีโรค ซึ่งเกิดจากการกินดีเกินไป เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับความเสื่อมของหลอดเลือด
                ในปัจจุบันชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการกินอาหาร ซึ่งไม่สมดุลได้มีการชักชวนให้ลดการรับประทาน เนื้อสัตว์ นม เนย ให้เพิ่มการรับประทาน พืช ผัก และธัญพืช ซึ่งอุดมด้วยเส้นใยจากธรรมชาติ และวิตามิน
                 ในวัยเด็ก เนื้อสัตว์และนม ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ร่างกายต้องการโปรตีนลดลง การรับประทานเนื้อสัตว์ และนมมากเกินไปยังทำให้ร่างกายได้รับไขมันเพิ่ม เนื่องจากในเนื้อสัตว์และนมจะมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์มาก ๆ มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สงูควรเปลี่ยนแปลงมารับประทานโปรตีนจากพืชพวกถั่วแทน
                  อาหารอีกกลุ่มซึ่งไม่ควรรับประทานมากเกินไป คือ น้ำตาล พบว่าน้ำตาลทำให้หลอดเลือดมีความเสื่อมเร็วขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจะพบว่าหลอดเลือดแก่ก่อนวัย ไขมันก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจำกัด และใช้น้ำมันจากพืชแทน น้ำมันจากสัตว์ ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีโคเรสเตอรอลสูง
                  อาหารที่ควรรับประทานคือ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เพราะอุดมไปด้วย กากใยธรรมชาติ วิตามิน และเกลือแร่

อ้างอิง http://pirun.ku.ac.th/

5 ข้อควรรู้ ในการดูแลอาหารให้ผู้สูงอายุ

1. สารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล สำคัญต่อการดูแลภาวะขาดสารอาหาร


หลายคนเข้าใจผิด เสริมแต่วิตามินเป็นเม็ดๆ หรืออาหารเสริมทั่วไป ที่มักเน้น “สารอาหารรอง” ทั้งที่ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่มักละเลยคือ “สารอาหารหลัก” เช่น โปรตีน ไขมันชนิดดี คาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้พลังงานที่เพียงพอ เราจึงแนะนำให้รับประทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ที่ให้โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และ เกลือแร่ในปริมาณที่พอเหมาะและครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย





2. โปรตีนคุณภาพดีสำคัญอย่างไร


โปรตีนที่ดีเช่นโปรตีนที่มีส่วนผสมของเวย์และเคซีน มีกรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาด้วยตัวเองได้ (คนเราต้องการกรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมด 8 ชนิด และเวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนครบทั้ง 8 ชนิด) โปรตีนทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีรายงานว่าช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระและความดันโลหิตสูง และอื่น ๆ อีกมากมาย3


ทำไมต้อง เวย์โปรตีน กับผู้สูงอายุ


หลายคนเข้าใจผิดว่า เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่เหมาะกับคนหนุ่มสาวที่เล่นกล้ามเท่านั้น จริงๆแล้วผู้สูงอายุนี่แหละที่ต้องการอย่างมาก เพราะเวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดี ดังตารางด้านล่างที่งานวิจัยพบว่า ร่างกายคนเราสามารถดูดซึม เวย์โปรตีน ไปสร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ ดังนั้นยิ่งผู้สูงอายุที่ทานข้าวได้น้อย ก็ยิ่งควรเลือกกินเวย์โปรตีน เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ได้รับโปรตีนน้อย กล้ามเนื้อจะยิ่งลีบลงเร็ว ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหว






3. การดูแลด้วย โพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์สุขภาพ) และ ใยอาหาร


โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์สุขภาพที่ดี ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้ของคนเรา สามารถช่วยให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้นและปรับสมดุลการขับถ่าย 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาระบบขับถ่าย นอกจากนี้ การได้รับอาหารเสริมที่มีเส้นใยอาหารยังอาจช่วยลดอาการท้องผูก ใยอาหารบางชนิดยังสามารถดูดซับของเสียแล้วถ่ายออกมาได้อีกด้วย เช่นดูดซับไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกิน ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกาย แล้วขับออกมา ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารในปริมาณที่เหมาะสม


4. วิตามินอี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน


ผลงานวิจัยทางการแพทย์บ่งชี้ว่า การได้รับวิตามิน อี ที่พอเหมาะในปริมาณที่สูง สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หากทานติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งสำคัญในผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการติดเชื้อง่าย การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินอี จึงเป็นเกราะป้องกันที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข


5. ไขมันชนิดดี MUFA และ โอเมก้า 3


ไขมันไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป การกินไขมันที่ดี จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น


ตัวอย่างไขมันที่ดี 2 ชนิด
1. ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว หรือเรียกว่า MUFA 
หลายคนไปตรวจสุขภาพ คงเคยได้ยินว่า การลดความเสี่ยงโรคหัวใจหรือเส้นเลือดตีบนั้น ต้องลดไขมันในเลือดโดยรวม ลดไขมันชนิดไม่ดีคือ LDL ที่มักเกิดจากการกินอาหารไม่มีประโยชน์ และให้เพิ่มไขมันชนิดดีในเลือดคือ HDL ซึ่งจะเพิ่มได้จากการออกกำลังกาย


รู้หรือไม่ว่า การกินไขมันชนิดดีที่เรียกว่า MUFA มีผลวิจัยระบุว่ามีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันรวม และลดไขมันตัวร้าย คือ LDL และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ โดยไม่ทำให้ระดับไขมันชนิดดี HDL ลดลง การรับประทานไขมัน MUFA ที่พบได้มากในไขมันจากพืชเช่น ดอกคาโนล่า ดอกทานตะวัน เรปซีด จึงมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ



2. เพิ่มสมดุลไขมันดี โอเมก้า 3 ให้สูงขึ้น ลดไขมันโอเมก้า 6 ลง


ไขมันโอเกมก้า 3 คือไขมันที่ช่วยต่อต้านการอักเสบในร่างกาย ในขณะที่ไขมันโอเมก้า 6 ส่งเสริมการอักเสบ การปรับสมดุลให้มีไขมันโอเมก้า-3 สูง และ ไขมันโอเมก้า-6 ต่ำ จะช่วยให้ไม่เกิดการส่งเสริมการอักเสบในร่างกายให้เพิ่มสูงขึ้น



 



ถ้ากินน้อย ต้องเสริมอาหารเสริม แล้วจะเลือกอย่างไร


การดูแลด้วยอาหารธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้สูงอายุ มักจะกินได้น้อย กินไม่ลง บางครั้งต่อให้ทำอาหารอร่อยแค่ไหน ก็เป็นไปได้ยากที่จะกินให้ครบถ้วนอย่างที่ต้องการ การเลือกอาหารเสริมที่เป็นสูตรครบถ้วนที่ดี ถูกหลักโภชนาการ ได้รับการยอมรับจากแพทย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะดูแลท่านในระยะยาว


อาหารสูตรครบถ้วนคืออะไร?


อาหารสูตรครบถ้วน คือ การนำอาหารทั้ง 5 หมู่ มาทำในรูปแบบผง ชงทานง่าย มีการคำนวณปริมาณสารอาหารให้สมดุลตามหลักทางการแพทย์ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อร่างกาย ผสมเข้ามาไว้ด้วยกัน ผู้สูงอายุทั่วไปสามารถชงดื่มเสริมมื้ออาหารปกติได้เมื่อทานอาหารได้น้อยและไม่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งชงดื่มทดแทนอาหารมื้อที่ขาดหายไปได้


เลือกอาหารสูตรครบถ้วนอย่างไร?


อาหารสูตรครบถ้วนที่ดี นอกจากจะมีปริมาณสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแล้ว คุณภาพของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบก็เป็นปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน เนสท์เล่ โดย Nestle Health Science เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำ ที่ศึกษาอาหารทางการแพทย์ที่ถูกหลักโภชนาการออกมาให้ผู้สูงอายุทั่วไปรับประทาน รสชาติอร่อย ทานง่าย ชงง่าย ดูดซึมง่าย

สูตรเฉพาะของเนสท์เล่คัดสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับผู้บริโภค* เช่น เลือกใช้เวย์โปรตีน โปรตีนคุณภาพสูง, เลือกไขมันชนิดดี MUFA สูง, ไขมันโอเมก้า 3 สูง และ โอเมก้า 6 ต่ำ, เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ, มีวิตามินอีสูง และมีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอื่นๆ จึงไม่เพียงแต่มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการ แต่มีส่วนประกอบที่โดดเด่นเพิ่มเติม สามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้ว ระหว่างอาหารปกติมื้อหลักได้ง่ายๆ ได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่


ค่าใช้จ่ายกับอาหารสูตรครบถ้วน?


อาหารสูตรครบถ้วนโดยทั่วไป หากชงทานดื่มวันละ 1 แก้ว จะใช้เงินเพียงประมาณ 1600 บาทต่อเดือน* ในการดูแลสุขภาพและได้รับโภชนาการที่ดี แน่นอนว่าการมีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ย่อมดีกว่าป่วยบ่อยๆและต้องรักษาตัวซึ่งจะต้องใช้เงินอีกมาก ที่สำคัญรอยยิ้มและความสุขที่ได้จากการมีสุขภาพดี รวมทั้งการแสดงความรักความห่วงใยให้ท่านทุกเดือน ย่อมมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด


สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมคลิกที่นี่
> อาหารสูตรครบถ้วนเพื่อผู้สูงอายุทั่วไป ที่ทำจากเวย์โปรตีน < 

 > อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มกากใยอาหาร < 
 > อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด < 

หรือ ติดต่อบริษัทเนสท์เล่ในวันและเวลาทำการปกติที่เบอร์โทรศัพท์ 02-657-8582
(โทรติดต่อเพื่อสั่งซื้อ สอบถามถามข้อมูล หรือขอตัวอย่างสินค้า)



*ขึ้นกับแต่ละสูตร
จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุขาดสารอาหารหรือไม่?

เนสท์เล่ ร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาคำถาม 8 ข้อง่ายๆ ให้ลูกหลานสามารถนำไปเชคเบื้องต้นว่าผู้สูงอายุที่คุณรัก มีความเสี่ยงกินอาหารไม่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งแบบทดสอบนี้ได้ทำการทดสอบจริงในโรงพยาบาลจนเป็นที่ยอมรับในความน่าเชื่อถือ



ตัวอย่างผู้ที่กินอาหารที่มีเวย์โปรตีน หรือ จุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์) หรือ ใยอาหารชนิดพรีไบโอติกส์ (ขึ้นกับแต่ละสูตร)





แชร์บทความนี้ ให้เพื่อน ๆ รู้
       
ข้อมูลอ้างอิง

1. Hickson M. Postgrad Med J. 2006;82:2-8.
2. Osher E, Stern N. Diabetes Care. 2009;32 Suppl 2:S398-402.
3. Marshall K. Altern Med Rev. 2004;9:136-156.
4. Malaguarnera G, Leggio F, Vacante M, et al. J Nutr Health Aging. 2012;16:402-410.
5. Meydani SN, Wu D, Santos MS, Hayek MG. Am J Clin Nutr. 1995;62:1462S-1476S.
6. Vazquez Roque M, Bouras EP. Clin Interv Aging. 2015;10:919-930.

7. Demling, Robert H. 2009. Nutrition, anabolism, and the wound healing process: an overview. ePlasty 9.
8. http://www.bodybuilding.com/fun/anthony8.htm
9. Anders H Frid, Mikael Nilsson, Jens Juul Holst, and Inger ME Björck. Am J Clin Nutr July 2005, vol. 82 no. 1 69-75
10. Meydani, S., Meydani, M., Blumberg, J., et al. Vitamin E supplementation and in vivo immune response in healthy elderly subjects. A randomized controlled trial. Journal of the American Medical Association; 1997, 277: 1380-1386.    

การดูแลด้วยอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ที่เหมาะสม

ผู้สูงอายุแต่ละท่าน จะมีภาวะที่ต้องการสูตรอาหารที่ต่างกัน เช่น ผู้สูงอายุทั่วไป, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการย่อยการดูดซึม, ผู้ที่มีปัญหาการขับถ่ายต้องการใยอาหารเพิ่มเป็นพิเศษ, ผู้ที่นอนติดเตียง, ผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยาง หรือผู้สูงอายุที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาล

ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มควรได้รับประทานอาหารสูตรเฉพาะ แต่ยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพครบ 5 หมู่อย่างครบถ้วน

Nestlé Health Science จึงวิจัยและศึกษาสูตรอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ที่ทำจากเวย์โปรตีน ผสมด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รสชาติอร่อย ทานง่าย ผสมใยอาหาร และไขมันชนิดดี ที่สำคัญคืออยู่ในรูปแบบผงที่ชงง่าย ย่อยและดูดซึมได้ง่าย

Nestlé Health Science มีสูตรอาหารครบถ้วนที่หลากหลาย พัฒนาให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มและเป็นสูตรอาหารที่ได้รับการรับรองและมีการใช้ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า ผู้สูงอายุจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเมื่อทานตามคำแนะนำ
(อาหารทางการแพทย์ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์)
อ้างอิง https://www.nestlehealthscience-th.com

อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง

อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง
        อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่เป็นสิ่งที่เร่งรีบมากขึ้นทำให้ไม่ค่อยมีเวลาใส่ใจในเรื่องของอาหารการกินความพอดีหรือความสมดุลของร่างกายที่จะได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป รวมทั้งค่านิยมในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ที่มีทั้งความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้เราลืมนึกถึงคุณค่าของสารอาหารที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวันร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างความความเจริญเติบโตของร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพดี แต่เราควรจะต้องรู้ว่าจะกินอาหารอย่างไร กินอะไร และมีปริมาณมากน้อยเพียงเท่าใด จึงจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงมีเคล็ดไม่รับมาฝา
กินอาหาร 5 หมู่

        สารอาหารที่ร่างกายต้องการ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ และใยอาหาร แต่คงไม่มีอาหารชนิดใดที่ให้สารอาหารอย่างครบถ้วนในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินให้หลากหลายจึงจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
อาหารหลัก

        ข้าวมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย ควรกินข้าวสลับกับอาหารประเภทแป้งอื่นๆ เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เผือกและมัน เป็นต้น
กินผักผลไม้เป็นประจำ 

        ถ้าไม่อยากกินก็ซื้อประเภทน้ำผลไม้กินก็ได้เหมือนกัน ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้วิตามินแร่ธาตุและกากใย นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะตามหลอดเลือด และช่วยทำให้เยื่อบุของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ แข็งแรงขึ้นอีกด้วย
เนื้อสัตว์

        เป็นสารอาหารประเภทโปรตีน ควรกินเนื้อสัตว์จำพวก ปลา เนื้อไม่ติดมัน เพื่อลดการสะสมของไขมันในร่างกาย ไข่ก็เป็นอาหารที่ให้โปรตีนเหมือนกันแถมยังมีราคาถูกและหาซื้อง่ายอีกด้วย
ดื่มนม                    


        นมมีสารอาหารที่ให้โปรตีน แคลเซียม และวิตามินบี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตให้เ้ด็ก ๆ ส่วนผู้ใหญ่จะช่วยในส่วนของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างการยเช่น สร้างเนื้อเยื่อ สร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน เหมาะกับทุกเพศดื่มได้ทุกวันยิ่งดี
ไขมัน      

           
        เป็นสารที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค ควรกินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ไม่ควรกินมากเกินไป จะทำให้มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง และเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
หลีกเลี่ยงอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม จัดๆ   


        อาหารที่มีรสหวานจัดทำให้ร่างกายได้พลังงานเพิ่มขึ้นและทำให้อ้วนหรืออาจเป็นโรคเบาหวานก็ได้ ส่วนอาหารที่มีรสเค็มจัดทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงหรือ เป็นความดันได้
สะอาดถูกหลักอนามัย                

    
        ควรกินอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ บรรจุในภาชนะที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง มีใบรับประกันสินค้า อย. หรือวัน เดือน ปี ที่ผลิต ที่ระบุไว้เพืื่อเป็นการป้องกันในการซื้ออาหารที่หมดอายุแล้วอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ถ้าหากรับประทานขอหมดอายุเข้าไป
แอลกอฮอล์       

        งดการดื่มสุราหรือของมึนเมา เพราะมันทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเซื่อมหรือลดลง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหาร ( กระเพาะทะลุ )และลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการที่ดีแล้ว ร่างกายของคนเราก็จะได้รับสารอาหารที่ร่างการต้องการครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย นอกจากจะทำให้เรามีสุขภาพที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารได้อีกด้วย
 อ้างอิง  http://heathmed.blogspot.com/






















องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ

        สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมีมากมายหลายสาเหตุ แต่ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบที่สำคัญๆ ดังนี้

1. องค์ประกอบด้านตัวบุคคล

    * ลักษณะทางพันธุกรรม (Genetic makeup)
    * เชื้อชาติ (Race)
    * เพศ (Sex)อายุและระดับพัฒนาการ (Age and development level)
    * ปัจจัยทางสรีรวิทยา (Physiological factors)
    * ปัจจัยทางด้านจิตใจ (Poychological Factors)
    * ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ
    * พฤติกรรมอนามัย (Health behavior) หรือสุขปฏิบัติ (Health Practice) 

2. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม (Enviroment Factors) สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านใหญ่ คือ

    * สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม (Social-economic environment) 

3. องค์ประกอบทางด้านระบบการจัดการสาธารณสุขและการบริการสุขภาพ (Health Service System Factors)

        หมายถึง การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ของรัฐในการที่จะสนองตอบต่อการส่งเสริมให้บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ หรือประเทศนั้นๆ มีสุขภาพที่ดี และเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงระบบการบริการทางการแพทย์


ผลกระทบของปัจจัยสังคมและปัจจัยศีลธรรม

        เมื่อเราพูดถึงโรคกาย เราก็จะมองหาตัวเชื้อโรค ตัวพยาธิ และเมื่อเราพูดถึงโรคจิต เราอาจมองหาเหตุปัจจัยจากพันธุกรรม อาชีพ สิ่งแวดล้อม

        มีผู้วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเหตุปัจจัยด้านสังคม และเหตุปัจจัยด้านศีลธรรมพบว่ามีผลต่อสุขภาพ(เสียสุขภาพ) ต่อการเกิดโรค(เกิดโรคง่ายขึ้น) และต่อความตาย(อายุสั้น) แม้จะเป็นผลการศึกษาจากงานวิจัยในต่างประเทศ แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนไทยเมื่อนำมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในทุกวันนี้

        เหตุปัจจัยดังกล่าว มีดังนี้

        1. ความยากจนข้นแค้น (หาไม่พอกินพอใช้) ทำให้คนจนขาดอาหาร เกิดโรคติดเชื้อง่าย และอายุสั้นเมื่อเทียบกับคนมั่งมี

        2. ภาวะโดดเดี่ยว (กำพร้า, ถูกทอดทิ้ง หรือแยกตัวเอง) ทำให้มีอัตราการเกิดโรคหัวใจ อัมพาต และมะเร็งเพิ่มกว่าปกติ

        3.โรคอ้วน ทำให้เพิ่มภาระโรคต่อไปนี้ คือ ข้อเสื่อม-ข้ออักเสบ หืดหอบ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็ง เต้านม โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจ

        4. ความสำส่อนทางเพศ นำมาซึ่งกามโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง (ซึ่งแม่อาจเสียชีวิต) และทารกถูกทอดทิ้ง

        5. การเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ สารเสพติดอื่น และการพนัน

        6.โรคที่มนุษย์ทำเอง เช่น ฆ่าตัวตาย ฆ่าคนอื่น อุบัติเหตุต่างๆ ถูกสารพิษ

        7. ภาวะมลพิษจากฝีมือมนุษย์ ทั้งมลพิษในน้ำ อากาศ ดิน อาหาร และน้ำบริโภค


ลักษณะคนที่มีสุขภาพดี

        คนที่มีสุขภาพดี คือ คนที่มีความสุข มีความหวัง และมีพลังกาย พลังใจ สุขภาพจะเป็นเสมือนหนึ่งวิถีทาง อันจะนำบุคคลไปสู่ความสุข และความสำเร็จต่างๆ นานาในชีวิต


สุขภาพจิต

        คือ สภาพจิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคง มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่น และสามารถที่จะปรับตัวให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม

ความสำคัญของสุขภาพจิต

        ผู้มีสุขภาพจิตดี จะสามารถจัดระเบียบชีวิตของตนได้เหมาะสม กับตัวเอง และสังคมทั่วไป ทำให้เกิดความพอใจในชีวิต สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เป็นคนรู้จักยอมรับความจริงของชีวิต รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ป็นอย่างดี จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในชีวิตได้เป็นอย่างมาก

ลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี

    * สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม
    * มีความกระตือรือร้น ไม่เหนื่อยหน่าย หรือท้อแท้ใจ หรือหมดหวังในชีวิต
    * มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
    * ไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป มีอารมณ์ขัน
    * มีความรู้สึก และมองโลกในแง่ดีเสมอ
    * มีความตั้งใจในการทำงาน
    * รู้จักตนเอง และเข้าใจบุคคลอื่นได้ดี
    * มีความเชื่อตนเองอย่างมีเหตุผล
    * สามารถแสดงออกอย่างมีเหตุผล
    * มีความสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว และถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
    * มีความปรารถนา และยินดี เมื่อบุคคลอื่นมีความสุข ความสำเร็จ และมีความปรารถนาดี ในการป้องกันผู้อื่น ให้มีความปลอดภัยจากอันตราย หรือโรคภัยไข้เจ็บ 


สุขภาพกาย

        อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากอาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย และอาหารช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ คนเราจึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารถูกสัดส่วน จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และเจริญเติบโตสมวัย

ประโยชน์ของอาหารต่อสุขภาพ

    * ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต คนเราจะมีรูปร่างสูงใหญ่เพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร และพันธุกรรมของแต่ละคน คนที่มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ หากรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ร่างกายก็จะสูงใหญ่ตามลักษณะทางพันธุกรรม ตรงกันข้ามกับคนที่รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ รูปร่างก็จะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ตัวเล็กกว่าปกติได้ แม้ว่าลักษณะทางพันธุกรรม จะมีรูปร่างสูงใหญ่ก็ตาม 

    * ทำให้หญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์แข็งแรง หญิงมีครรภ์รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างมีครรภ์ได้ เช่น การแท้งบุตร การคลอดบุตรก่อนกำหนด เป็นต้น นอกจากนี้ หญิงมีครรภ์จะมีร่างกายแข็งแรง และทารกในครรภ์ก็จะเจริญเติบโต ทั้งทางด้านร่างกาย และสมองอย่างปกติ เมื่อคลอดทารกก็จะคลอดง่าย ทารกจะมีสุขภาพแข็งแรง 

    * ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย คนที่รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ร่างกายจะสามารถต้านทานโรคได้ดี เพราะมีภูมิต้านทานโรค แม้เมื่ออาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือไม่รุนแรงนัก ร่างกายก็สามารถรักษาตัวเองได้ 

    * ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น คนเราะมีอายุยืนยาวได้ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สภาพแวดล้อมดี การแพทย์และการสาธารณสุขดี มีการรักษาสุขภาพร่างกายดี และที่สำคัญ คือ รู้จักเลือกรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาวขึ้นได้ 

อ้างอิง http://ptc.icphysics.com/

ความหมายของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
            สุขภาพกาย หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่างๆของร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ
           สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี   และปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสน ภายในจิตใจ
ความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
              สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิต การที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ     การทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ จิตใจมีความสุข ความพอใจ ความสมหวังทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี    จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันไม่ว่าเป็นการเรียนหรือการทำงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกว่า    ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรามีความปกติและสมบูรณ์ดี เราก็จะมีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราผิดปกติหรือไมสมบูรณ์ เราก็จะมีความทุกข์ การรู้จักบำรุงรักษา และส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การรู้จักดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขสมบูรณ์และมีคุณภาพที่ดี
      ลักษณะของผู้มีภาวะสุขภาพกายที่ดี
        1. สภาพร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง
        2. อวัยวะต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ
        3. ร่างกาย ไม่ทุพพลภาพ
        4. ความเจริญทางด้านร่างกายเป็นไปตามปกติ
        5. ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อ้างอิง http://www.snr.ac.th/

ระบบสุขภาพอาจนิยามจากบทบาทหน้าที่ หรือ องค์ประกอบ
         ในเชิงบทบาทหน้าที่ ระบบสุขภาพมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาวะกายและจิตที่ดี ผ่านกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค ฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย และกระบวนการสร้างความแข็งแกร่งและความพร้อมของสาธารณสุขในการรับมือโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และภัยพิบัติ
         นอกเหนือการตอบสนองความคาดหวังของประชาชนดังกล่าวข้างต้น ระบบสุขภาพที่ดีควรเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของทุกคน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินการ และให้ความเท่าเทียมด้านสิทธิประโยชน์แก่ชนทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม
lerning health system from HSRI

อ้างอิง https://www.hsri.or.th

































































































สุขภาพ
หมายถึงระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงานหรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิตสำหรับมนุษย์นั้นโดยทั่วไปและตามนิยามขององค์การอนามัยโลกหมายถึงสภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต จิตวิญญาณ และสังคมของบุคคล อันมิได้หมายถึงความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียว แม้นิยามนี้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะในประเด็นของความไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนหรือประเด็นปัญญาที่ตามมาจากการใช้คำว่า "สมบูรณ์" ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอยู่ ระบบจำแนกประเภทต่างๆ เช่น Family of International Classifications ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) และ International Classification of Diseases (ICD) เป็นเกณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการนิยามและวัดองค์ประกอบของสุขภาพ

อ้างอิง https://th.wikipedia.org


สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย 
        ปัจจุบัน คำว่า สุขภาพ มิได้หมายเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสุขภาพสังคม และสุขภาพศีลธรรมอีกด้วย
        สรุปว่าในความหมายของ "สุขภาพ" ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ด้วยกันคือ
        1. สุขภาพกาย หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
        2. สุขภาพจิต หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
        3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
        4. สุขภาพศีลธรรมหมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข
        องค์ความรู้ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีสั่งสมไว้มากพอสมควร และเรามีระบบบริการสุขภาพที่ทำงานได้ผลดีทีเดียว แต่เราขาดการศึกษาสุขภาพสังคมและสุขภาพศีลธรรมอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงหากทำได้เราจะจัดการกับสุขภาพสังคมและสุขภาพศีลธรรมได้ดีกว่านี้
        ที่จริงทางตะวันออกและโดยเฉพาะในบริบทของวัฒนธรรมไทย ก็มีเนื้อหาความรู้และข้อปฏิบัติไว้มากมาย เพียงแต่ "นักวิชาการสุขภาพ" ยังมิได้จัดเป็นระบบและเชื่อมโดยจริงจัง
        ตัวอย่างเช่น ในเรื่องสุขภาพสังคม หากเรานำเอาวิถีชีวิต มารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย มาพูดจากันอย่างจริงจัง และนำเข้าไปอยู่ในระบบอบรมเลี้ยงดู และระบบการศึกษา รวมทั้งระบบบริการสุขภาพด้วยก็จะเกิดประโยชน์
        หรือในเรื่องสุขภาพศีลธรรม เราก็มีศาสนธรรมพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธคริสต์ อิสลาม ฮินดู-พราหมณ์ หรือสิกข์
        หรือปรัชญาขงจื้อที่คนไทยเชื้อสายจีนยึดถือเป็นแนวทางชีวิตล้วนแต่มีคุณค่ามหาศาลที่เราควรนำไปสั่งสอนลูกหลานหรือลูกศิษย์และ


อ้างอิง  http://pirun.ku.ac.th/


คนที่มีสุขภาพกายดี จะเป็นคนที่

  1. ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง แข็งแกร่ง มั่นคง
  2. อวัยวะทุกส่วนทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์
  3. มีความเจริญเติบโตทางกายภาพของร่างกายสมวัย

 ส่วนคนที่มีสุขภาพจิตดี คือ คนที่


  1. มีความมั่นคงทางอารมณ์ของตนเอง ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี
  2. มองโลกในแง่ดี คิดบวกกับทุกเหตุการณ์ในชีวิต
  3. รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง
  4. ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้เป็นอย่างดี
  5. เอื้อเฟื้อ และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
อ้างอิง http://www.fungfink.com/