วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ

        สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมีมากมายหลายสาเหตุ แต่ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบที่สำคัญๆ ดังนี้

1. องค์ประกอบด้านตัวบุคคล

    * ลักษณะทางพันธุกรรม (Genetic makeup)
    * เชื้อชาติ (Race)
    * เพศ (Sex)อายุและระดับพัฒนาการ (Age and development level)
    * ปัจจัยทางสรีรวิทยา (Physiological factors)
    * ปัจจัยทางด้านจิตใจ (Poychological Factors)
    * ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ
    * พฤติกรรมอนามัย (Health behavior) หรือสุขปฏิบัติ (Health Practice) 

2. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม (Enviroment Factors) สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านใหญ่ คือ

    * สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical environment)
    * สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม (Social-economic environment) 

3. องค์ประกอบทางด้านระบบการจัดการสาธารณสุขและการบริการสุขภาพ (Health Service System Factors)

        หมายถึง การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ของรัฐในการที่จะสนองตอบต่อการส่งเสริมให้บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ หรือประเทศนั้นๆ มีสุขภาพที่ดี และเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงระบบการบริการทางการแพทย์


ผลกระทบของปัจจัยสังคมและปัจจัยศีลธรรม

        เมื่อเราพูดถึงโรคกาย เราก็จะมองหาตัวเชื้อโรค ตัวพยาธิ และเมื่อเราพูดถึงโรคจิต เราอาจมองหาเหตุปัจจัยจากพันธุกรรม อาชีพ สิ่งแวดล้อม

        มีผู้วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเหตุปัจจัยด้านสังคม และเหตุปัจจัยด้านศีลธรรมพบว่ามีผลต่อสุขภาพ(เสียสุขภาพ) ต่อการเกิดโรค(เกิดโรคง่ายขึ้น) และต่อความตาย(อายุสั้น) แม้จะเป็นผลการศึกษาจากงานวิจัยในต่างประเทศ แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนไทยเมื่อนำมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในทุกวันนี้

        เหตุปัจจัยดังกล่าว มีดังนี้

        1. ความยากจนข้นแค้น (หาไม่พอกินพอใช้) ทำให้คนจนขาดอาหาร เกิดโรคติดเชื้อง่าย และอายุสั้นเมื่อเทียบกับคนมั่งมี

        2. ภาวะโดดเดี่ยว (กำพร้า, ถูกทอดทิ้ง หรือแยกตัวเอง) ทำให้มีอัตราการเกิดโรคหัวใจ อัมพาต และมะเร็งเพิ่มกว่าปกติ

        3.โรคอ้วน ทำให้เพิ่มภาระโรคต่อไปนี้ คือ ข้อเสื่อม-ข้ออักเสบ หืดหอบ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็ง เต้านม โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจ

        4. ความสำส่อนทางเพศ นำมาซึ่งกามโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง (ซึ่งแม่อาจเสียชีวิต) และทารกถูกทอดทิ้ง

        5. การเสพติด ทั้งเหล้า บุหรี่ สารเสพติดอื่น และการพนัน

        6.โรคที่มนุษย์ทำเอง เช่น ฆ่าตัวตาย ฆ่าคนอื่น อุบัติเหตุต่างๆ ถูกสารพิษ

        7. ภาวะมลพิษจากฝีมือมนุษย์ ทั้งมลพิษในน้ำ อากาศ ดิน อาหาร และน้ำบริโภค


ลักษณะคนที่มีสุขภาพดี

        คนที่มีสุขภาพดี คือ คนที่มีความสุข มีความหวัง และมีพลังกาย พลังใจ สุขภาพจะเป็นเสมือนหนึ่งวิถีทาง อันจะนำบุคคลไปสู่ความสุข และความสำเร็จต่างๆ นานาในชีวิต


สุขภาพจิต

        คือ สภาพจิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคง มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่น และสามารถที่จะปรับตัวให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม

ความสำคัญของสุขภาพจิต

        ผู้มีสุขภาพจิตดี จะสามารถจัดระเบียบชีวิตของตนได้เหมาะสม กับตัวเอง และสังคมทั่วไป ทำให้เกิดความพอใจในชีวิต สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เป็นคนรู้จักยอมรับความจริงของชีวิต รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ป็นอย่างดี จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในชีวิตได้เป็นอย่างมาก

ลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี

    * สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม
    * มีความกระตือรือร้น ไม่เหนื่อยหน่าย หรือท้อแท้ใจ หรือหมดหวังในชีวิต
    * มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
    * ไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป มีอารมณ์ขัน
    * มีความรู้สึก และมองโลกในแง่ดีเสมอ
    * มีความตั้งใจในการทำงาน
    * รู้จักตนเอง และเข้าใจบุคคลอื่นได้ดี
    * มีความเชื่อตนเองอย่างมีเหตุผล
    * สามารถแสดงออกอย่างมีเหตุผล
    * มีความสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว และถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
    * มีความปรารถนา และยินดี เมื่อบุคคลอื่นมีความสุข ความสำเร็จ และมีความปรารถนาดี ในการป้องกันผู้อื่น ให้มีความปลอดภัยจากอันตราย หรือโรคภัยไข้เจ็บ 


สุขภาพกาย

        อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากอาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย และอาหารช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ คนเราจึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารถูกสัดส่วน จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และเจริญเติบโตสมวัย

ประโยชน์ของอาหารต่อสุขภาพ

    * ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต คนเราจะมีรูปร่างสูงใหญ่เพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร และพันธุกรรมของแต่ละคน คนที่มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ หากรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ร่างกายก็จะสูงใหญ่ตามลักษณะทางพันธุกรรม ตรงกันข้ามกับคนที่รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ รูปร่างก็จะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ตัวเล็กกว่าปกติได้ แม้ว่าลักษณะทางพันธุกรรม จะมีรูปร่างสูงใหญ่ก็ตาม 

    * ทำให้หญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์แข็งแรง หญิงมีครรภ์รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างมีครรภ์ได้ เช่น การแท้งบุตร การคลอดบุตรก่อนกำหนด เป็นต้น นอกจากนี้ หญิงมีครรภ์จะมีร่างกายแข็งแรง และทารกในครรภ์ก็จะเจริญเติบโต ทั้งทางด้านร่างกาย และสมองอย่างปกติ เมื่อคลอดทารกก็จะคลอดง่าย ทารกจะมีสุขภาพแข็งแรง 

    * ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย คนที่รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ร่างกายจะสามารถต้านทานโรคได้ดี เพราะมีภูมิต้านทานโรค แม้เมื่ออาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือไม่รุนแรงนัก ร่างกายก็สามารถรักษาตัวเองได้ 

    * ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น คนเราะมีอายุยืนยาวได้ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สภาพแวดล้อมดี การแพทย์และการสาธารณสุขดี มีการรักษาสุขภาพร่างกายดี และที่สำคัญ คือ รู้จักเลือกรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาวขึ้นได้ 

อ้างอิง http://ptc.icphysics.com/

ความหมายของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
            สุขภาพกาย หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่างๆของร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ
           สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี   และปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสน ภายในจิตใจ
ความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
              สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิต การที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติก็คือ     การทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ จิตใจมีความสุข ความพอใจ ความสมหวังทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี    จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันไม่ว่าเป็นการเรียนหรือการทำงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกว่า    ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรามีความปกติและสมบูรณ์ดี เราก็จะมีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราผิดปกติหรือไมสมบูรณ์ เราก็จะมีความทุกข์ การรู้จักบำรุงรักษา และส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตของทุกคน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การรู้จักดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขสมบูรณ์และมีคุณภาพที่ดี
      ลักษณะของผู้มีภาวะสุขภาพกายที่ดี
        1. สภาพร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง
        2. อวัยวะต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ
        3. ร่างกาย ไม่ทุพพลภาพ
        4. ความเจริญทางด้านร่างกายเป็นไปตามปกติ
        5. ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อ้างอิง http://www.snr.ac.th/

ระบบสุขภาพอาจนิยามจากบทบาทหน้าที่ หรือ องค์ประกอบ
         ในเชิงบทบาทหน้าที่ ระบบสุขภาพมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาวะกายและจิตที่ดี ผ่านกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค ฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย และกระบวนการสร้างความแข็งแกร่งและความพร้อมของสาธารณสุขในการรับมือโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และภัยพิบัติ
         นอกเหนือการตอบสนองความคาดหวังของประชาชนดังกล่าวข้างต้น ระบบสุขภาพที่ดีควรเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของทุกคน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินการ และให้ความเท่าเทียมด้านสิทธิประโยชน์แก่ชนทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม
lerning health system from HSRI

อ้างอิง https://www.hsri.or.th

































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น